อะไรหนอ ... ตอน ... ยาสามัญประจำบ้าน

 



 



 



 



 



รู้หรือไม่ ทำไมคุณหมอถึงใช้น้ำเกลือล้างแผล ไม่ใช้แอลกอฮอล์


เพราะว่ามันแสบยังไงล่ะคะ  แต่เหตุผลอื่นๆ ทางการแพทย์ก็มีอยู่นะคะ ลองมาดูกันว่า ถ้าเราเป็นแผล จะสามารถใช้สารหรือยาตัวไหนล้างทำความสะอาดแผลได้บ้าง
สารละลาย (solution) ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) และน้ำเกลือล้างแผล (0.9%
normal saline) ที่ปราศจากเชื้อ
โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride, NaCl 0.9% , normal saline) โดยทั่วไป เรียกว่า น้ำเกลือ โดยมีคุณสมบัติเป็น isotonic กับเซลล์ ช่วยในการกระตุ้นการงอกขยายของเซลล์ใหม่และไม่ทำลายเนื้อเยื่อ
แอลกอฮอล์ 70% (alcohol 70%) ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบ ๆ แผล สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนังประมาณร้อยละ 90 ภายใน 2 นาที โดยมีฤทธิ์ทำให้โปรตีนตกตะกอนหรือแตกสลายและจะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อเมื่อ นำไปใช้ในบาดแผล
หรือบริเวณที่มีรอยแผลสด ทำให้สิ่งขับหลั่งเกิดตะกอนขุ่น ซึ่งจะมีผลต่อการอักเสบติดเชื้อบริเวณนั้นได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ เช็ดแผลโดยตรง
ทิงเจอร์ไอโอดีน (tincture iodine) เป็นน้ำยาทำความสะอาดผิวหนังที่ดีมากราคาถูกและมีพิษ (toxicity) ต่อเนื้อเยื่อของร่างกายน้อย เป็น bactericidal
สามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส โดยจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ประมาณร้อยละ 90 ภายใน 90 วินาที
จึงนิยมใช้เป็นน้ำยาสำหรับทำให้ผิวหนังปราศจากจากเชื้อ อาจใช้ในในการรักษาแผลถลอกได้ โดยใช้ความเข้มข้น 0.8-1%
แต่ มีข้อเสีย คือ เมื่อทาบริเวณผิวหนังแล้วตัวทำละลายจะระเหยไป ทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้น ผิวหนังไหม้พองได้ดังนั้นหลังจากใช้น้ำยา 1 นาที ให้เช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70%
  เบตาดีน หรือโปรวิดีน ไอโอดีน (betadine, providone-iodine solution) เป็นน้ำยาที่ระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่า ทิงเจอร์ไอโอดีนใช้ได้ดีใน mucous membrane โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อ mucous และโปรตีนในสิ่งขับหลั่ง
 ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogenperoxcide) จัดอยู่ในกลุ่ม oxide ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้โดยการสร้าง oxidant คือ hydroxyl free radical (-OH) ไปทำลายจุลินทรีย์ (microorganism)
ใช้ สำหรับล้างแผลสกปรก แผลมีหนองหรือลิ่มเลือด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แปรสภาพได้ง่ายจะสลายตัวถ้ามีสารอื่นเจือปนหรือถูกความ ร้อนและแสงสว่าง
ดังนั้นจงควรเก็บไว้ในขวดสีชาที่มีฝาปิดแน่น
  เดกิน (dakin’s solution หรือ hyperchlorite solution) สามารถฆ่าเชื้อโรคและทำลายเนื้อตาย (necrotic tissue) ได้
จึงนิยมใช้กับแผลที่มีเนื้อตาย แต่มีข้อเสียคือจะละลายลิ่มเลือดและทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้
ไม่ควรใช้ในแผลสดเพราะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ก่อนทำแผลจึงควรเจือจางความเข้มข้น


ที่มา

http://student.mahidol.ac.th/~u4809033/instrument.html

  http://www.trueplookpanya.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น